สัปดาห์ที่ 9
บันทึก สัปดาห์ที่ 9
วิชา : การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี : 14 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ : 9 กลุ่มเรียน : 101 (วันอังคาร : บ่าย)
เวลาเข้าเรียน 12:20-15:00 ห้องเรียน : 234
บันทึก สัปดาห์ที่ 9
วิชา : การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี : 14 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ : 9 กลุ่มเรียน : 101 (วันอังคาร : บ่าย)
เวลาเข้าเรียน 12:20-15:00 ห้องเรียน : 234
ชั่วโมงที่ 9 ของการเรียนการสอน วิชา
การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ วันนี้ได้เรียนเรื่อง
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) และ เด็กออทิสติก (Autistic)
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (L.D)
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐาน ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา อาจเป็นการพูดและ/หรือภาษาเขียน หรือการคิดคำนวณ รวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้ สมองได้รับบาดเจ็บกาปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไป
สาเหตุ
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐาน ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา อาจเป็นการพูดและ/หรือภาษาเขียน หรือการคิดคำนวณ รวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้ สมองได้รับบาดเจ็บกาปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไป
สาเหตุ
การได้รับบาดเจ็บทางสมองเนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
กรรมพันธุ์ เนื่องจากงานวิจัยจำนวนมากระบุว่า ถ้าหากพ่อแม่ ญาติ พี่น้องที่ใกล้ชิดเป็นจะมีโอกาส ถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม สิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือกรรมพันธุ์ เช่น การพัฒนาการช้า เนื่องจากการได้รับสารอาหารไม่ครบ ขาดสารอาหาร มลพิษ การเลี้ยงดู
ลักษณะทั่วไปของเด็ก LD
-
มีความบกพร่องทางการพูด
-
มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
-
มีปัญหาในการเรียนวิชาทักษะ
-
มีปัญหาในการสร้างแนวความคิดรวบยอด
-
การทดสอบผลการเรียนให้ผลไม่แน่นอนมากแก่การพยากรณ์
-
มีความบกพร่องทางการรับรู้
-
มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว
-
มีอารมณ์ไม่คงที
-
โยกตัวหรือผงกศีรษะบ่อยๆ
-
มีพัฒนาการทางร่างกายไม่คงที่
-
มีพฤติกรรมไม่คงเส้นคงว่า
-
เสียสมาธิง่ายแสดงพฤติกรรมแปลกๆ
-
มีปัญหาในการสร้างความ สัมพันธ์กับเพื่อน
การบกพร่องทางการอ่าน
-
จำตัวอักษรไม่ได้ จำตัวอักษรได้แต่อ่านเป็นคำไม่ได้
-
ความสามารถในการอ่านต่ำกว่านักเรียนอื่นในชั้นเดียวกัน
-
ระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยหรือสูงกว่าเกณฑ์
-
เข้าใจภาษาได้ดีหากได้ฟังหรือมีคนอ่านให้ฟัง
-
อ่านคำโดยสลับตัวอักษร
-
ไม่เข้าใจว่าตัวอักษรใดมาก่อน – หลัง
-
เด็กบางคนมีความไวในการฟัง
-
เด็กบางคนอาจมีความไวในการใช้สายตา
-
มีความยากลำบากในการจำรูปพยัญชนะและการอ่านพยัญชนะ
-
มีความยากลำบากในการแยกแยะเสียง เช่น การแยกแยะเสียง บ ป พ
- มีความยากลำบากในการจำรูปสระและการอ่านสระ
- การออกเสียงคำไม่ชัด หรือไม่ออกเสียงบางเสียงบางครั้งออกเสียงรวบคำ
-
ไม่สามารถอ่านคำได้ถูกต้อง เช่น การอ่านคำที่มีวรรณยุกต์กำกับการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
-
อ่านคำโดยสลับตัวอักษร เช่น “ นก” เป็น “ กน” “ งาน” เป็น “
นาง” เป็นต้น
-
ไม่สามารถอ่านข้อความหรือประโยคได้ถูกต้อง เช่น อ่านข้ามคำ อ่านตกหล่น อ่านเพิ่มคำ อ่านสลับคำ
-
ไม่สามารถเรียงลำดับจากเรื่องที่อ่านได้
-
จับข้อเท็จจริงจากเรื่องที่อ่านไม่ได้
-
จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านไม่ได้
การบกพร่องทางการเขียน
-
ไม่สามารถลอกคำที่ครูเขียนบนกระดานลงบนสมุดได้
-
เขียนประโยคตามครูไม่ได้
-
ไม่สามารถแยกรูปทรงทางเรขาคณิตได้
-
เรียงคำไม่ถูกต้อง
-
มีความยากลำบากในการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย เช่น เด็กจะลากเส้นวน ๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวน ๆ ซ้ำ ๆ
-
เขียนพยัญชนะ สระ และเลขไทยกลับด้านคล้ายมองจากกระจกเงา
-
มีความสับสนในการเขียนพยัญชนะ และเลขไทยมีลักษณะคล้ายกัน เช่น ค – ด , น – ม , พ – ผ , ๓ – ๗ , ๔ – ๕
-
เขียนด้วยลายมือที่อ่านไม่ออก
-
เขียนเรียงลำดับพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ในคำผิด ตำแหน่ง เช่น
“ ปลา” เป็น “ ปาล”“ หมู” เป็น “
หูม” “ กล้วย” เป็น “ ก้ลวย”
-
เขียนไม่ได้ใจความ
-
เขียนหนังสือ ลอกโจทย์จากกระดานช้าเพราะกลัวสะกดผิด
-
เขียนไม่ตรงบรรทัด เขียนต่ำหรือเหนือเส้น ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบกระดาษ ไม่เว้นช่องไฟ
-
จับดินสอหรือจับปากกาแน่นมาก
-
ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง เขียนตัวหนังสือตัวโต
การบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์
-
มีปัญหาในการบอกความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
-
ไม่เข้าใจความหมายของจำนวน
-
ไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ได้ยินกับสิ่งที่มองเห็น
-
ไม่เข้าใจปริมาณ เมื่อขนาดเปลี่ยนไป
-
ทำเลขไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นบวก ลบ คูณ
หาร เพียงอย่างเดียวหรือทั้ง 4 อย่าง
-
ไม่เข้าใจความหมายของตัวเลขที่นำมาเรียงกันทางคณิตศาสตร์
-
ไม่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนในการคำนวณได้
-
ไม่เข้าใจในการอ่านแผนและกราฟ
-
มีปัญหาในการทำเลขโจทย์
-
ไม่เข้าใจเกี่ยวกับค่าประจำตำแหน่ง เช่น จะไม่รู้ว่าเลข “ 3 ” ในจำนวนต่อไปนี้ 23
, 38 , 317 มีค่าแตกต่างกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลทำให้มีความยุ่งยากในการบวก ลบ คูณ หาร จำนวน และไม่สามารถหาคำตอบที่ถูกต้องได้
-
ไม่สามารถจำ และเขียนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เช่น “
+ แทน การบวก” “ - แทนการลบ”
“ X แทน การคูณ” และ “ ? แทน การหาร”
เด็กออทิสติก (Autistic)
หมายถึง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์
กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด
แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก
จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน
แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก
อาการทางสังคม
เมื่อยังเป็นเด็กจะมีการพัฒนาพฤติกรรมปกติกล่าวคือเด็กจะจ้องมองหน้าและตา
หันไปตามเสียงหรือแสง จับนิ้วมือ ยิ้ม เด็กที่เป็น autism จะไม่สบตาพ่อแม่มักจะชอบอยู่คนเดียว
เด็กไม่ชอบการกอดรัด เด็กจะเหมือนหุ่นไม่แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ
ไม่ร้องไห้เมื่อแม่ออกนอกห้อง ไม่ดีใจเมื่อแม่กลับเข้ามา
เด็กจะมีปัญหาการเรียนรู้ เด็กจะไม่รู้ความหมายของการยิ้ม
ไม่เข้าใจภาษาทางร่างกาย เช่นการกอด การจูบ ไม่เข้าใจท่าทางแสดความโกรธ
จากปัญหาต่างๆดังกล่าวเด็กจะไม่สามารถเรียนรู้ความคิด อารมณ์
พฤติกรรมการแสดงออกของผู้อื่น หรือความต้องการของคนอื่น
เด็กบางคนจะแสดงความก้าวร้าวออกมา
เด็กจะไม่สามารถควบคุมตัวเองในในสิ่งแวดล้อมใหม่หรือที่ๆแออัดหรือเวลาโกรธไม่พอใจ
เด็กจะทำลายของเล่น หรือทำร้ายผู้อื่นหรือทำร้ายตัวเอง
ปัญหาด้านภาษา
เด็กปกติแรกคลอกจะมีการพูดแบบเด็กๆคืออ้อแอ้ไม่เป็นภาษา
เมื่อโตขึ้นก็จะหัดพูดเป็นคำๆ หันหน้าไปตามเสียงเรียกชื่อ ชี้สิ่งที่ตัวเองต้องการ
เมื่อโตขึ้นเด็กก็จะพูดประโยคสั้นๆได้ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
เด็กที่เป็น autism ภายใน 6 เดือนแรกก็จะพูดอ้อแอ้หลังจากนั้นจะหยุดพูด
บางคนจะหยุดพูดตลอดไป การสื่อสารจะใช้สัญลักษณ์ เด็กบางคนเริ่มหัดพูดเมื่ออายุ 5-8
ปี เด็กบางคนจะพูดเป็นคำๆ เด็กไม่สามารถผสมคำได้อย่างมีความหมาย
เด็กบางคนเลียนแบบคำพูดของคนอื่นหรือจำจากทีวี
การพูดซ้ำมักจะพบได้เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี เด็ก autism เด็กอาจจะพูดใช้ความหมายผิดเช่นอยากออกนอกบ้านแต่เด็กใช้คำว่าขึ้นรถแทนคำว่าออกไปข้างนอก
เด็กจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่าฉัน ของฉัน เธอ เช่น คุณชื่ออะไร
เด็กจะตอบว่าคุณชื่อนนท์(ชื่อของเด็ก)
การแสดงความรู้สึกบนใบหน้าก็เป็นปัญหาสำหรับเด็ก autism จะไม่สามารถแสดงสีหน้าหรือท่าทางเพื่อแสดงดีใจ
เสียใจ โกรธ น้ำเสียงก็ไม่มีสูงหรือต่ำเสียงเหมือนหุ่นยนต์
เนื่องจากเด็กไม่สามารถใช้ภาษาแสดงว่าต้องการอะไร
เด็กจะใช้วิธีร้องหรือแย่งของแทนที่จะขอ
พฤติกรมที่ทำซ้ำๆ
เด็ก autism จะมีร่างกายปกติแต่มักจะมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆทำให้ไม่สามารถเล่นกับเด็กคนอื่น
เด็กอาจจะนั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมืออยู่เป็นชั่วโมง
เด็กนั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆ เช่นวิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโนน
เด็กอาจจะคว้ามือคนอื่นให้ดูนาฬิกาตัวเองอยู่ตลอดเวลา
หรืออาจะเอาอุจาระออกจากห้องน้ำเข้าห้องเรียน
เด็กจะไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่น นั่งโต๊ะตัวเดียง
กินอาหารเวลาเดียวกัน เด็กจะโกรธมากหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่นตำแหน่งของช้อน
เก้าอี้ รูปภาพ
เด็กเล็กจะมีจิตนาการ เช่นสมมุติตัวเองเป็นแม่ หรือแม่ค้า เอาชามใส่แทนหมวก
แต่เด็กที่เป็น autism จะไม่มีจินตนาการเช่นนี้
ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้
เด็กปกติจะมีการรับรู้สิ่งแวดล้อมจากสัมผัสทั้ง 5 และสมองก็สามารถที่จะแปลผลนั้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
แต่เด็กautism จะมีปัญหาเรื่องการรับรู้จากสัมผัสทั้ง 5ทำให้เด็กสับสน เด็กอาจจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องสัมผัสบางอย่างเช่น
รูป รส กลิ่น เสียง
เด็กบางคนเมื่อใส่เสื้อผ้าจะทำให้เด็กไม่มีสมาธิทำอย่างอื่น
เด็กบางคนจะรู้สึกอึกอัดเมื่อถูกกอด
เด็กบางคนอาจจะกรีดร้องเมื่อได้ยินเสียงเครื่องบิน เสียงโทรศัพท์หรือเสียงอื่นๆ
เด็กบางคนจะไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่รู้สึกเจ็บปวดเด็กอาจจะหกล้มกระดูกหักแต่ไม่ร้องเลย
หรืออาจจะเอาหัวโขกกำแพงโดยที่ไม่ร้อง
ความสามารถพิเศษ
เด็ก autism บางคนมีความสามารถพิเศษหลายอย่างเช่น การวาดรูป ความจำ การเล่นดนตรี
การอ่านหนังสือ
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : อยู่ในระดับดี แต่งตัวเรียบร้อย ถูกต้องตามกฎระเบียบ
เข้าเรียนตรงเวลา เวลาเรียนมีความรู้สึกง่วงบ้างเป็นเพราะพักผ่อนมาน้อย
ประเมินเพื่อน : อยู่ในระดับดี แต่งตัวเรียบร้อยถูกระเบียบ ถูกต้องตามกฎระเบียบ
ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน มีคุยกันบ้าง
ประเมินอาจารย์ : อยู่ในระดับดีมาก อาจารย์มีการแสดงบทบาทสมมุติหลายๆรูปแบบทำให้นักศึกษาตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มีเสียงหัวเราะ รุ้สึกสนุกกับการเรียนการสอน ทำให้เข้าใจง่ายและเห็นภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น