วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 15


บันทึก สัปดาห์ที่ 15
       วิชา : การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี : 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
       ครั้งที่ : 15 กลุ่มเรียน : 101 (วันอังคาร : บ่าย)
       เวลาเข้าเรียน 12:20-15:00 ห้องเรียน : 234


          ชั่วโมงที่ 15 ของการเรียนการสอน วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ วันนี้ได้เรียนเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ เด็กสมาธิสั้น (ADHD) 


สิ่งที่ครูควรทำ
ถือเป็นเรื่องสำคัญ ครูจะต้องจัดลำดับกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสม
-         การวาดรูป ระบายสี หรือศิลปะจะช่วยทำให้เด็กสงบ มีสมาธิมากขึ้น เด็กกลุ่มนี้จะเรียนได้ดีในวิชาศิลปะ ครูอาจจะเพิ่มเวลาเรียนวิชาศิลปะให้มากขึ้น
-         เด็กไม่ควรอยู่ในห้องที่มีสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่เยอะ แขวนระโยงระยาง ควรจัดให้เรียนให้ห้องที่สงบ โปร่งโล่ง
-         ครูต้องเลือกวิชาและจัดบรรยากาศให้เหมาะสมกับเด็ก
-         ครูอาจต้องแยกเด็กไฮเปอร์ ออกจากเพื่อนเพื่อไม่ให้รบกวนการเรียนของเด็กคนอื่น
-         ครูต้องคอยสังเกตว่า ยาที่แพทย์ให้มานั้นเด็กกินแล้วเป็นอย่างไร และรายงานผลกลับไปที่แพทย์ด้วย เช่น ยาตัวนี้เด็กกินแล้วไม่ซน แต่ง่วงหลับตลอดวัน ก็ต้องมีการปรับตัวยา เพราะเท่ากับเด็กไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย
-         สำหรับเด็กไฮเปอร์ ครูจะต้องประสานกับพ่อแม่หรือแพทย์ผู้ดูแลรักษา เพื่อให้ข้อมูลต่างๆ ของเด็ก และหากครูมีความเข้าใจและให้ความรักเด็กที่เป็นโรคนี้ การปรับพฤติกรรมก็จะง่ายขึ้นเมื่อเด็กให้ความร่วมมือ

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : อยู่ในระดับดี แต่งตัวเรียบร้อย ถูกต้องตามกฎระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน มีสมาธิในการเรียนมากขึ้น เนื่องจากเคลียงานวิชาอื่นเสร็จ
ประเมินเพื่อน : อยู่ในระดับดี แต่งตัวเรียบร้อยถูกระเบียบ ถูกต้องตามกฎระเบียบ ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน 
ประเมินอาจารย์ : อยู่ในระดับดีมาก อาจารย์มีการยกตัวอย่างด้วยการแสดงบทบาทสมมุติ ให้นักศึกษาได้เห็น มีการตั้งคำถามเพื่อให้เด็กคิดและตอบคำถาม

สัปดาห์ที่ 14


บันทึก สัปดาห์ที่ 14
       วิชา : การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี : 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
       ครั้งที่ : 14 กลุ่มเรียน : 101 (วันอังคาร : บ่าย)
       เวลาเข้าเรียน 12:20-15:00 ห้องเรียน : 234


          ชั่วโมงที่ 14 ของการเรียนการสอน วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก มีการจัดกิจกรรมของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เอกการศึกษาปฐมวัย ในโครงการ "ครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์ความเป็นไทย"


สัปดาห์ที่ 13

บันทึก สัปดาห์ที่ 13
       วิชา : การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี : 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
       ครั้งที่ : 1กลุ่มเรียน : 101 (วันอังคาร : บ่าย)
       เวลาเข้าเรียน 12:20-15:00 ห้องเรียน : 234


          ชั่วโมงที่ 13 ของการเรียนการสอน วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ วันนี้ได้เรียนเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ Down's Syndrome & Autistic 







การประเมินผล
ประเมินตนเอง : อยู่ในระดับดี แต่งตัวเรียบร้อย ถูกต้องตามกฎระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน : อยู่ในระดับดี แต่งตัวเรียบร้อยถูกระเบียบ ถูกต้องตามกฎระเบียบ ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ : อยู่ในระดับดีมาก อาจารย์มีการแสดงบทบาทสมมุติพร้อมกับการสอนไปด้วย ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายและเห็นภาพ และมีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เห็นภาพ








สัปดาห์ที่ 12


บันทึก สัปดาห์ที่ 12
       วิชา : การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี : 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
       ครั้งที่ : 12 กลุ่มเรียน : 101 (วันอังคาร : บ่าย)
       เวลาเข้าเรียน 12:20-15:00 ห้องเรียน : 234


          ชั่วโมงที่ 12 ของการเรียนการสอน วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ วันนี้อาจารย์ได้บอกคะแนนสอบกลางภาคและเฉลยข้อสอบทีล่ะข้อ โดยบอกคำตอบที่ถูกและผิดพร้อมอธิบายอย่างละเอียด





สัปดาห์ที่ 11

บันทึก สัปดาห์ที่ 11
       วิชา : การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี : 28 ตุลาคม  พ.ศ.2557
       ครั้งที่ : 11 กลุ่มเรียน : 101 (วันอังคาร : บ่าย)
       เวลาเข้าเรียน 12:20-15:00 ห้องเรียน : 234



          ชั่วโมงที่ 11 ของการเรียนการสอน วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์นัดสอบกลางภาคของวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ 

สัปดาห์ที่ 10

สัปดาห์ที่ 10
บันทึก สัปดาห์ที่ 10
       วิชา : การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี : 21 ตุลาคม  พ.ศ.2557
       ครั้งที่ : 10 กลุ่มเรียน : 101 (วันอังคาร : บ่าย)
       เวลาเข้าเรียน 12:20-15:00 ห้องเรียน : 234


          ชั่วโมงที่ 10 ของการเรียนการสอน วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ วันนี้ได้เรียนเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders) และ เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)
เด็กที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม (ต่อต้านตนเองหรือผู้อื่น) หรือมีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ (แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ) ออกมาอย่างเนื่องจนถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของเด็กไม่ว่าจะเพียงลักษณะเดียว หรือหลายลักษณะร่วมกันก็ได้ เช่น มีความยากลำบากในการเรียน ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางด้านสติปัญญา ประสาทสัมผัส หรือสุขภาพ มีความยากลำบากในการสร้างหรือคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนและครู แสดงออกถึงภาวะความเครียดและไม่มีความสุขอย่างเป็นปกติ มีแนวโน้มของอาการทางสุขภาพร่างกาย หรือความกลัวอันเป็นผลของปัญหาที่เกิดกับตัวเด็กเองหรือปัญหาที่เกิดในโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของลูกครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งปัญหาเหล่านั้น ส่วนใหญ่สามารถได้รับการช่วยเหลือหรือแก้ไขได้ หากเด็กได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาของเด็กในบางกรณีอาจจะมีความรุนแรง ซึ่งเป็นสัญญาณของปัญหาสำคัญที่เด็กกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานานจนกระทั่งเด็กโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ผลเสียที่ตามมาอาจลุกลามไปถึงการสูญเสียของชีวิตก็เป็นได้

เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
ความพิการซ้อน หมายถึง ความบกพร่องร่วมกันมากกว่า 1 ลักษณะที่เกิดขึ้นต่อบุคคล เช่น บกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับตาบอด หรือบกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยปกติแล้ว สำหรับเด็ก ความซ้ำซ้อนเหล่านี้มักก่อให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้ เนื่องจากเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาพิเศษที่เหมาะสมต่อความบกพร่องทางใดทางหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้ เด็กพิการซ้อนมักมีปัญหาความผิดปกติที่หลากหลาย ซึ่งมักได้แก่ การพูด การเคลื่อนไหวร่างกาย การเรียนรู้ การมองเห็น การได้ยิน ความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น นอกจากนี้ เด็กยังอาจมีภาวะสูญเสียการรับรู้ทางประสาท รวมทั้งมีปัญหาด้านพฤติกรรมและสังคม
-         เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
-         เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
-         เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
-         เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : อยู่ในระดับดี แต่งตัวเรียบร้อย ถูกต้องตามกฎระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอนและจดเนื้อหานอกเหนือจากข้อมูลใน Powerpoint.
ประเมินเพื่อน : อยู่ในระดับดี แต่งตัวเรียบร้อยถูกระเบียบ ถูกต้องตามกฎระเบียบ ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ : อยู่ในระดับดีมาก อาจารย์ได้อธิบายและยกตัวอย่างนอกเหนือจาก Powerpoint. ทำให้นักศึกษามีข้อมูลและองค์ความรู้เพิ่มขึ้น

สัปดาห์ที่ 9

สัปดาห์ที่ 9
บันทึก สัปดาห์ที่ 9
       วิชา : การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี : 14 ตุลาคม  พ.ศ.2557
       ครั้งที่ : 9 กลุ่มเรียน : 101 (วันอังคาร : บ่าย)
       เวลาเข้าเรียน 12:20-15:00 ห้องเรียน : 234

          ชั่วโมงที่ 9 ของการเรียนการสอน วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ วันนี้ได้เรียนเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) และ เด็กออทิสติก (Autistic)


เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (L.D)
          หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐาน ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา อาจเป็นการพูดและ/หรือภาษาเขียน หรือการคิดคำนวณ รวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้ สมองได้รับบาดเจ็บกาปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไป
          สาเหตุ
          การได้รับบาดเจ็บทางสมองเนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
กรรมพันธุ์ เนื่องจากงานวิจัยจำนวนมากระบุว่า ถ้าหากพ่อแม่ ญาติ พี่น้องที่ใกล้ชิดเป็นจะมีโอกาส ถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม สิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุอื่น  ที่ไม่ใช่การได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือกรรมพันธุ์ เช่น การพัฒนาการช้า เนื่องจากการได้รับสารอาหารไม่ครบ ขาดสารอาหาร มลพิษ การเลี้ยงดู
ลักษณะทั่วไปของเด็ก LD
-         มีความบกพร่องทางการพูด
-         มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
-         มีปัญหาในการเรียนวิชาทักษะ
-         มีปัญหาในการสร้างแนวความคิดรวบยอด
-         การทดสอบผลการเรียนให้ผลไม่แน่นอนมากแก่การพยากรณ์
-         มีความบกพร่องทางการรับรู้
-         มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว
-         มีอารมณ์ไม่คงที
-         โยกตัวหรือผงกศีรษะบ่อยๆ
-         มีพัฒนาการทางร่างกายไม่คงที่
-         มีพฤติกรรมไม่คงเส้นคงว่า
-         เสียสมาธิง่ายแสดงพฤติกรรมแปลกๆ
-         มีปัญหาในการสร้างความ สัมพันธ์กับเพื่อน
การบกพร่องทางการอ่าน
-         จำตัวอักษรไม่ได้ จำตัวอักษรได้แต่อ่านเป็นคำไม่ได้
-         ความสามารถในการอ่านต่ำกว่านักเรียนอื่นในชั้นเดียวกัน
-         ระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยหรือสูงกว่าเกณฑ์
-         เข้าใจภาษาได้ดีหากได้ฟังหรือมีคนอ่านให้ฟัง
-         อ่านคำโดยสลับตัวอักษร
-         ไม่เข้าใจว่าตัวอักษรใดมาก่อน – หลัง
-         เด็กบางคนมีความไวในการฟัง
-         เด็กบางคนอาจมีความไวในการใช้สายตา
-         มีความยากลำบากในการจำรูปพยัญชนะและการอ่านพยัญชนะ
-         มีความยากลำบากในการแยกแยะเสียง    เช่น   การแยกแยะเสียง        
- มีความยากลำบากในการจำรูปสระและการอ่านสระ
- การออกเสียงคำไม่ชัด    หรือไม่ออกเสียงบางเสียงบางครั้งออกเสียงรวบคำ
-         ไม่สามารถอ่านคำได้ถูกต้อง เช่น การอ่านคำที่มีวรรณยุกต์กำกับการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
-         อ่านคำโดยสลับตัวอักษร เช่น “ นก” เป็น “ กน” “ งาน” เป็น “ นาง” เป็นต้น
-         ไม่สามารถอ่านข้อความหรือประโยคได้ถูกต้อง   เช่น อ่านข้ามคำ อ่านตกหล่น อ่านเพิ่มคำ อ่านสลับคำ
-         ไม่สามารถเรียงลำดับจากเรื่องที่อ่านได้
-         จับข้อเท็จจริงจากเรื่องที่อ่านไม่ได้
-         จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านไม่ได้
        การบกพร่องทางการเขียน
-         ไม่สามารถลอกคำที่ครูเขียนบนกระดานลงบนสมุดได้
-         เขียนประโยคตามครูไม่ได้
-         ไม่สามารถแยกรูปทรงทางเรขาคณิตได้
-         เรียงคำไม่ถูกต้อง
-         มีความยากลำบากในการเขียนพยัญชนะ    สระ   วรรณยุกต์  และเลขไทย  เช่น เด็กจะลากเส้นวน  ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวน ๆ ซ้ำ ๆ
-         เขียนพยัญชนะ สระ และเลขไทยกลับด้านคล้ายมองจากกระจกเงา
-         มีความสับสนในการเขียนพยัญชนะ และเลขไทยมีลักษณะคล้ายกัน   เช่น , , ,
-         เขียนด้วยลายมือที่อ่านไม่ออก
-         เขียนเรียงลำดับพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ในคำผิด ตำแหน่ง    เช่น   “ ปลา” เป็น “ ปาล”“ หมู” เป็น “ หูม” “ กล้วย” เป็น “ ก้ลวย”            
-         เขียนไม่ได้ใจความ
-         เขียนหนังสือ ลอกโจทย์จากกระดานช้าเพราะกลัวสะกดผิด
-         เขียนไม่ตรงบรรทัด   เขียนต่ำหรือเหนือเส้น  ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน   ไม่เว้นขอบกระดาษ ไม่เว้นช่องไฟ
-         จับดินสอหรือจับปากกาแน่นมาก
-         ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง เขียนตัวหนังสือตัวโต
การบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์
-         มีปัญหาในการบอกความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
-         ไม่เข้าใจความหมายของจำนวน
-         ไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ได้ยินกับสิ่งที่มองเห็น
-         ไม่เข้าใจปริมาณ เมื่อขนาดเปลี่ยนไป
-         ทำเลขไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นบวก ลบ คูณ หาร เพียงอย่างเดียวหรือทั้ง 4 อย่าง
-         ไม่เข้าใจความหมายของตัวเลขที่นำมาเรียงกันทางคณิตศาสตร์
-         ไม่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนในการคำนวณได้
-         ไม่เข้าใจในการอ่านแผนและกราฟ
-         มีปัญหาในการทำเลขโจทย์             
-         ไม่เข้าใจเกี่ยวกับค่าประจำตำแหน่ง    เช่น    จะไม่รู้ว่าเลข   “ 3 ” ในจำนวนต่อไปนี้ 23 , 38 , 317 มีค่าแตกต่างกัน   ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลทำให้มีความยุ่งยากในการบวก ลบ คูณ หาร จำนวน และไม่สามารถหาคำตอบที่ถูกต้องได้
-         ไม่สามารถจำ และเขียนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เช่น “ + แทน การบวก” “ - แทนการลบ” “ X   แทน การคูณและ “ ?  แทน การหาร
เด็กออทิสติก (Autistic)
หมายถึง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก
อาการทางสังคม
เมื่อยังเป็นเด็กจะมีการพัฒนาพฤติกรรมปกติกล่าวคือเด็กจะจ้องมองหน้าและตา หันไปตามเสียงหรือแสง จับนิ้วมือ ยิ้ม เด็กที่เป็น autism จะไม่สบตาพ่อแม่มักจะชอบอยู่คนเดียว เด็กไม่ชอบการกอดรัด เด็กจะเหมือนหุ่นไม่แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ไม่ร้องไห้เมื่อแม่ออกนอกห้อง ไม่ดีใจเมื่อแม่กลับเข้ามา
เด็กจะมีปัญหาการเรียนรู้ เด็กจะไม่รู้ความหมายของการยิ้ม ไม่เข้าใจภาษาทางร่างกาย เช่นการกอด การจูบ ไม่เข้าใจท่าทางแสดความโกรธ จากปัญหาต่างๆดังกล่าวเด็กจะไม่สามารถเรียนรู้ความคิด อารมณ์ พฤติกรรมการแสดงออกของผู้อื่น หรือความต้องการของคนอื่น
เด็กบางคนจะแสดงความก้าวร้าวออกมา เด็กจะไม่สามารถควบคุมตัวเองในในสิ่งแวดล้อมใหม่หรือที่ๆแออัดหรือเวลาโกรธไม่พอใจ เด็กจะทำลายของเล่น หรือทำร้ายผู้อื่นหรือทำร้ายตัวเอง
ปัญหาด้านภาษา
เด็กปกติแรกคลอกจะมีการพูดแบบเด็กๆคืออ้อแอ้ไม่เป็นภาษา เมื่อโตขึ้นก็จะหัดพูดเป็นคำๆ  หันหน้าไปตามเสียงเรียกชื่อ ชี้สิ่งที่ตัวเองต้องการ เมื่อโตขึ้นเด็กก็จะพูดประโยคสั้นๆได้ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
เด็กที่เป็น autism ภายใน 6 เดือนแรกก็จะพูดอ้อแอ้หลังจากนั้นจะหยุดพูด บางคนจะหยุดพูดตลอดไป การสื่อสารจะใช้สัญลักษณ์ เด็กบางคนเริ่มหัดพูดเมื่ออายุ 5-8 ปี เด็กบางคนจะพูดเป็นคำๆ เด็กไม่สามารถผสมคำได้อย่างมีความหมาย เด็กบางคนเลียนแบบคำพูดของคนอื่นหรือจำจากทีวี การพูดซ้ำมักจะพบได้เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี เด็ก autism เด็กอาจจะพูดใช้ความหมายผิดเช่นอยากออกนอกบ้านแต่เด็กใช้คำว่าขึ้นรถแทนคำว่าออกไปข้างนอก เด็กจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่าฉัน ของฉัน เธอ เช่น คุณชื่ออะไร เด็กจะตอบว่าคุณชื่อนนท์(ชื่อของเด็ก)
การแสดงความรู้สึกบนใบหน้าก็เป็นปัญหาสำหรับเด็ก autism จะไม่สามารถแสดงสีหน้าหรือท่าทางเพื่อแสดงดีใจ เสียใจ โกรธ น้ำเสียงก็ไม่มีสูงหรือต่ำเสียงเหมือนหุ่นยนต์ เนื่องจากเด็กไม่สามารถใช้ภาษาแสดงว่าต้องการอะไร เด็กจะใช้วิธีร้องหรือแย่งของแทนที่จะขอ
พฤติกรมที่ทำซ้ำๆ
เด็ก autism จะมีร่างกายปกติแต่มักจะมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆทำให้ไม่สามารถเล่นกับเด็กคนอื่น
เด็กอาจจะนั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมืออยู่เป็นชั่วโมง
เด็กนั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆ เช่นวิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโนน
เด็กอาจจะคว้ามือคนอื่นให้ดูนาฬิกาตัวเองอยู่ตลอดเวลา หรืออาจะเอาอุจาระออกจากห้องน้ำเข้าห้องเรียน
เด็กจะไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่น นั่งโต๊ะตัวเดียง กินอาหารเวลาเดียวกัน เด็กจะโกรธมากหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่นตำแหน่งของช้อน เก้าอี้ รูปภาพ
เด็กเล็กจะมีจิตนาการ เช่นสมมุติตัวเองเป็นแม่ หรือแม่ค้า เอาชามใส่แทนหมวก แต่เด็กที่เป็น autism จะไม่มีจินตนาการเช่นนี้
ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้
เด็กปกติจะมีการรับรู้สิ่งแวดล้อมจากสัมผัสทั้ง 5 และสมองก็สามารถที่จะแปลผลนั้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่เด็กautism จะมีปัญหาเรื่องการรับรู้จากสัมผัสทั้ง 5ทำให้เด็กสับสน เด็กอาจจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องสัมผัสบางอย่างเช่น  รูป  รส กลิ่น เสียง เด็กบางคนเมื่อใส่เสื้อผ้าจะทำให้เด็กไม่มีสมาธิทำอย่างอื่น เด็กบางคนจะรู้สึกอึกอัดเมื่อถูกกอด เด็กบางคนอาจจะกรีดร้องเมื่อได้ยินเสียงเครื่องบิน เสียงโทรศัพท์หรือเสียงอื่นๆ
เด็กบางคนจะไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่รู้สึกเจ็บปวดเด็กอาจจะหกล้มกระดูกหักแต่ไม่ร้องเลย หรืออาจจะเอาหัวโขกกำแพงโดยที่ไม่ร้อง
ความสามารถพิเศษ
เด็ก autism บางคนมีความสามารถพิเศษหลายอย่างเช่น การวาดรูป ความจำ การเล่นดนตรี การอ่านหนังสือ

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : อยู่ในระดับดี แต่งตัวเรียบร้อย ถูกต้องตามกฎระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา เวลาเรียนมีความรู้สึกง่วงบ้างเป็นเพราะพักผ่อนมาน้อย
ประเมินเพื่อน : อยู่ในระดับดี แต่งตัวเรียบร้อยถูกระเบียบ ถูกต้องตามกฎระเบียบ ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน มีคุยกันบ้าง
ประเมินอาจารย์ : อยู่ในระดับดีมาก อาจารย์มีการแสดงบทบาทสมมุติหลายๆรูปแบบทำให้นักศึกษาตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มีเสียงหัวเราะ รุ้สึกสนุกกับการเรียนการสอน ทำให้เข้าใจง่ายและเห็นภาพ